มีฮาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (รัสเซีย: ??????? ?????????? ????????, อักษรโรมัน: Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2533
กอร์บาชอฟเกิดที่เมืองรีวอลโนเย ศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโกและที่สถาบันเกษตรกรรมสตัฟโรโปล จากนั้นจึงเริ่มทำงานเป็นพนักงานเดินเครื่องจักรกลเมื่อปี พ.ศ. 2489 และต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2495 กอร์บาชอฟก้าวหน้าในด้านการงานอย่างมากโดยได้ทำงานในตำแหน่งระดับสูงต่าง ๆ ในเมืองสตัฟโรโปลและในองค์กรพรรคประจำอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 - 2513
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 กอร์บาชอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้บริหารสูงสุดของ "สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต" และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี พ.ศ. 2514 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2528 เป็นสมาชิกโปลิตบูโรในปี พ.ศ. 2533 และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ระหว่าง พ.ศ. 2528 - 2534 แทนเชร์เนนโกที่เสียชีวิตลง จนกระทั่งได้เป็นประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด (President of the Presidium of the Supreme Soviet) ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายของระบอบใหม่ก่อนการล่มสลายของสหภาพ
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค กอร์บาชอฟได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ด้วยนโยบายที่รู้จักกันในชื่อ "เปเรสตรอยคา" (Perestroika - แปลว่า "การปรับโครงสร้าง") เป็นการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ เพิ่มเสรีภาพแก่สื่อและสิ่งพิมพ์ ยอมให้มีเสรีภาพทางวัฒนธรรม และนโยบาย "กลัสนอสต์" (Glasnost - แปลว่า "ความโปร่งใส") ที่ยอมให้มีการประเมินและแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศ
จากที่เขาปรับปรุงระบบเศรษฐกิจและการเมืองให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้นทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในพ.ศ. 2533
ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร นำนโยบาย "การผ่อนคลายความตึงเครียด" (D?tente) กลับมาใช้ใหม่ ลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตก พร้อมทั้งถอนทหารออกจากประเทศอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. 2532 ในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมในกองทัพยอมไม่ได้จึงรัฐประหารในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งกอร์บาชอฟรอดมาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จากการประท้วงของประชาชนนำโดยบอริส เยลต์ซิน แต่ในที่สุดก็ถูกบังคับให้ลาออก หลังพรรคคอมมิวนิสต์ถูกยุบและสหภาพล่มสลายในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นมา กอร์บาชอฟได้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธินานาชาติเพื่อการศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคมและการเมือง ชื่อว่า มูลนิธิกอร์บาชอฟ
วลาดิมีร์ เลนิน ? โจเซฟ สตาลิน ? นีกีตา ครุชชอฟ ? เลโอนิด เบรจเนฟ ? ยูริ อันโดรปอฟ ? คอนสตันติน เชียร์เนนโค ? มีฮาอิล กอร์บาชอฟ